ประวัติทาเตยามะและเส้นทางแอลป์

ความเชื่อทางศาสนาของทาเตยามะ

เชื่อกันว่าทาเตยามะเป็นภูเขาที่มีเทพเจ้าสถิตย์อยู่ ภูเขาไฟบริเวณเชิงเขามีทัศนียภาพธรรมชาติที่ไม่เหมือนใคร จิตนาการกันว่าเป็นพื้นที่คล้ายกับ “นรก”ตามความเชื่อของชาวพุทธ ชื่อสถานที่ในบริเวณพื้นที่นี้มีชื่อเกี่ยวกับ “การอยู่ในนรก”หลายแห่งเช่น คากิโนะเด็น (ทุ่งผีเปรต), จิโกกุดานิ(หุบเขานรก) ชิโนะอิเคะ (บ่อน้ำสีเลือด) เป็นต้น

ทัศนียภาพ 3 ภูเขาศักดิ์สิทธิ์มีภูเขาทาเตยามะ,ภูเขาไฟฟูจิ,ภูเขาชิรายามะนั้น เป็นที่รู้จักดีตั้งแต่ศตวรรษที่ 17-19 ว่าเป็นเส้นทางมาเยือนของผู้แสวงบุญจำนวนมาก เชื่อว่าการได้ชมโลกแห่งนรกที่มีน้ำร้อนพุ่งขึ้นจากหุบเขาจิโกกุดะนิแล้วก็ปรารถนาจะไปให้ถึงทาเตยามะแดนสุขาวดีด้วย

อิมมาได (จุดชมวิวจิโกกุดานิ)

ด้านบนของสถานที่ น้ำพุร้อนมิกุริกะ-อิเกะ เป็นจุดชมวิวที่มองลงมาเห็น “จิโกกุดานิ”(หุบเขานรก)ได้

บึงจิโนะอิเกะ (บึงสีเลือด)

การที่ในพื้นดินชุ่มน้ำมีสีแดงคล้ายสีเลือดกระจายอยู่เป็นหย่อม ๆ ทั่วไปเพราะมีธาตุเหล็กปนอยู่ในน้ำเป็นจำนวนมาก จึงเรียก “บึงนรกสีเลือด”และเป็นอันหนึ่งของการตั้งสมญา“ทาเตยามะจิโกกุ”ด้วย

ถ้ำหินทามะโดโน

ตั้งแต่กว่า 1000 ปีก่อน ถ้ำแห่งนี้ใช้เป็นที่พักแรมของเหล่านักบวชแสวงบุญในสมัยที่มีความเชื่อเรื่องภูเขาอย่างเคร่งครัด และเป็นถ้ำอีกที่หนึ่งที่ด้านหน้าปากถ้ำมีเทวรูปหินนับสิบประดิษฐานอยู่

จิโกกุดานิ (หุบเขานรก)

กำมะถันส่งกลิ่นฉุนรุนแรงออกมาจากผิวหน้าดินที่เย็นยะเยือก หมอกและไอน้ำถูกพ่นออกมาจากรูจำนวนมากมายนับไม่ถ้วน มีการตั้งชื่อสถานที่ต่าง ๆ เกี่ยวกับนรกถึง 136 แห่ง เช่น เหล็กย่างไฟ Blacksmith’s Hell (คาจิยะ-จิโกกุ) หรือ เฮียกุโช-จิโกกุ・ดังโงะยะ-จิโกกุ

หมายเหตุ มีเส้นทางเดินรอบบริเวณจิโกกุดานิ แต่ปัจจุบันปิดไม่ให้เข้าเพื่อป้องกันอันตรายจากก๊าซภูเขาไฟที่พุ่งออกมา

การปีนเขาสมัยใหม่เริ่มขึ้นแล้ว

ในศตวรรษที่ 19 มีความศรัทธาเรื่องเทพเจ้ากับพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับทาเตยามะ แต่ทัศนียภาพกว้างใหญ่น่ามหัศจรรย์ใจตรงหน้าได้ดึงดูดใจนักเดินเขาชาวอังกฤษให้เดินทางเข้ามาเรื่อย ๆ จนในที่สุดนักปีนเขา ชาวญี่ปุ่นและผู้หญิงจึงได้เริ่มกิจกรรมขึ้นภูเขาต่อ ๆ กันมา

ทาเตยามะ มูโรโด

กระท่อมบนภูเขาที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่นซึ่งได้รับการรับรองให้เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมที่สำคัญ ถูกสร้างขึ้นเมื่อประมาณ 200-300 ปีที่แล้ว สันนิษฐานว่ากระท่อมบนภูเขาแห่งนี้มีมาตั้งแต่ประมาณศตวรรษที่ 12

กลุ่มเทวรูปหินแกะสลัก

ร่องรอยความเชื่อเรื่องการทำบุญของผู้คนสมัยนั้นคือเทวรูปหินแกะสลักโบราณที่ยังหลงเหลือให้ได้เยี่ยมชม

การสร้างเขื่อนคุโรเบะ

ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่2 ญี่ปุ่นได้มีการฟื้นฟูเศรษฐกิจรวดเร็วมากทำให้เกิดการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า จึงได้มีการสร้างแหล่งผลิตพลังงานกระแสไฟฟ้าพลังน้ำชดเชย ใช้เวลาสร้างรวม 7 ปี ค่าใช้จ่าย 51.3 ล้านล้านเยนและจากคนงานทั้งหมด 10ล้านคน มีผู้ที่เสียชีวิตจากการสร้างเขื่อนถึง 171 คน สิ่งที่ยากลำบากที่สุดคือการขุดอุโมงค์เพื่อก่อสร้างรถบัสรางไฟฟ้าอุโมงค์คันเด็น (Kanden Tunnel Trolley bus)ที่ใช้วิ่งอยู่ในปัจจุบัน เพราะเป็นพื้นที่ที่มีน้ำใต้ดินและทรายจำนวนมหาศาลผุดขึ้นมาวินาทีละ 660 ลิตร การขุดเจาะลงไปเพียง 80 เมตรต้องใช้เวลาถึง 7 เดือน การสร้างเขื่อนคุโรเบะถูกนำไปสร้างเป็นละครเล่าเหตุการณ์จากการสร้างเขื่อนคล้ายเรื่องฟีเวอร์ดั๊มของอเมริกา ชื่อเรื่อง “คุโรเบะโนะไทโย”(พระอาทิตย์ที่คุโรเบะ) ซึ่งมีเหล่านักแสดงที่มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมากเข้าร่วมแสดงด้วย

อนุสาวรีย์รำลึกถึงผู้เสียชีวิต